วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทบาทและความสำคัญของกราฟิก

บทบาทและความสำคัญของกราฟิก
                งานกราฟิกต่าง ๆ  ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์  เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน   ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด   การบันทึกและการจำ   ทำให้การสื่อความหมายต่อกันของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี   จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น         
1)            ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ     มนุษย์ประสบความสำเร็จในการค้นพบความจริงและกระบวนการทางธรรมชาติมากมาย ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้  ต้องการวิธีการและกระบวนการในการเก็บบันทึก  การจำ  และเผยแพร่  การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถสื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว  สื่อความคิดถึงกันและกันได้ชัดเจนถูกต้อง  เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน
2)              ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี   เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  สามารถผลิตงานได้รวดเร็ว  มีปริมาณมาก  ง่ายต่อการใช้งาน  ราคาถูกลง  และเผยแพร่ได้สะดวกกว้างไกล โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท
3)              จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน  ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  การคมนาคมที่สามารถเดินทางไปทั่วทุกมุมโลกด้วยเวลาไม่มากนัก  และการสื่อสารที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ทำให้เกิดความจำเป็นต่อการสื่อความหมายทางไกลระหว่างบุคคลและการสื่อความหมายกับประชากรกลุ่มใหญ่ในมุมต่างๆ ของโลก  เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ความร่วมมือทางวิชาการ  ธุรกิจ และอื่น ๆทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยข้อจำกัดของเงื่อนเวลาและประสิทธิภาพของการสื่อความหมาย  งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงให้การสื่อความหมาย  สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาสั้น
         
       4)  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่นความคิด  ความเข้าใจ  ความสามารถ  อัตราการเรียนรู้  วิธีการเรียนรู้ และอื่น ๆ  ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การสื่อความหมายด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนในบางครั้งไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้ง่ายนัก  การใช้งานกราฟิกเข้าช่วยจะทำให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย  เพิ่มประสิทธิภาพของการคิดในบุคคลที่มีความแตกต่างได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บรรณานุกรม


การประยุกต์ใช้งานกราฟิก

การประยุกต์ใช้งานกราฟิก
1)  งานกราฟิกเข้าใจได้ง่าย     มีงานจำนวนมากที่แสดงด้วยภาพจะทำให้เข้าใจถึงเรื่องที่ต้องการสื่อความหมายได้ง่ายกว่าการอธิบายด้วยภาษาพูดและภาษาเขียน   เพราะภาพกราฟิกมีความชัดเจน  เรียบง่าย  และสามารถเน้นจุดที่ต้องการได้  เช่น  การใช้ภาพ แผนที่บอกสถานที่  การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  แผนภูมิต่าง ๆ         
 2)  งานกราฟิกดึงดูดความสนใจ   งานกราฟิกมีความสะดุดตา  น่าเชื่อถือ  สามารถใช้สร้างความสำคัญ  และทำให้ตระหนักถึงสิ่งที่ควรเอาใจใส่  จึงใช้ดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าการบอกเล่า  เช่น ในการโฆษณาสินค้าจะใช้งานกราฟิกที่มีสีสันสะดุดตาและการจัดวางที่เหมาะสมเพื่อจูงใจให้ลูกค้าเกิดความสนใจสินค้านั้นๆ การนำเสนอผลงานหรือข้อมูลต่าง ๆ ถ้าใช้ภาพกราฟิกประกอบการช่วยให้ผู้ฟังไม่เบื่อ  เกิดความเข้าใจ และสนใจติดตามตลอดการนำเสนอ
3)  งานกราฟิกช่วยให้จดจำได้มากและเร็วกว่า    เนื่องจากมนุษย์จะจำข้อมูลในลักษณะที่เป็นภาพได้ดีกว่าตัวเลขหรือข้อความ  การประยุกต์ใช้งานกราฟิกในการเรียนรู้หรือการศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนสรุปความรู้ได้เป็นอย่างดี  ผู้เรียนจึงสามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้มากและเร็วกว่า  เช่น  การใช้ภาพอธิบายการเกิดสุริยุปราคา  การใช้ภาพสัตว์สอนให้เด็กรู้จักชื่อสัตว์ชนิดต่าง ๆ  การใช้ภาพกราฟิกอธิบายการส่งสินค้าออกที่ทำรายได้เข้าประเทศ

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก
Pixel (Picture + Element )
หน่วยพื้นฐานของภาพที่เป็นสี่เหลี่ยมบรรจุสี (เมื่อซูมภาพไปมากๆจะเห็นสี่เหลี่ยมเล็กๆที่สี่เหลี่ยมแต่ละอันจะบรรจุสีไว้1สี)
Resolution(ความละเอียดของภาพ)
คือจำนวน Pixel ต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย
72 ppi             : งาน Website
100-150 ppi    :งานทั่วไป
300-350 ppi    :งานออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัดในการแสดงผลสูง

รูปแบบของภาพ
1.ภาพแบบ บิตแมป(Bitmap)หรือราสเตอร์(Raster)ลักษณะภาพคล้ายจิ๊กซอ ดูได้จากการซูมภาพ แต่ยิ่งซูมยิ่งดูไม่รู้เรื่อง เช่นภาพนามสกุล .JPEG, .TIFF,.GIF เป็นต้น

2.ภาพแบบเวคเตอร์(Vector)
คือภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง, เส้นตรงและคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์กล่าวคือที่จุดๆหนึ่งของภาพที่เราซูมเข้าไปมันจะเกิดจากการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่าภาพ
เกิดจากเส้นตรงหรือเส้นโค้งที่เอียงกี่องศา เก็บค่ารหัสสีอะไรไว้ไม่ว่าจะย่อหรือขยายกี่ครั้งภาพแบบนี้จะยังคมชัดเท่าเดิม
ภาพVector เหล่านี้ได้แก่
-ภาพ .wmf (Clipart ที่เราไว้ตกแต่งใน Microsoft Office นั่นเอง)
-ภาพใน Adobe Illustrator, Macromedia Freehand


ชนิดของภาพสำหรับงานกราฟิก
1.JPEG (Joint Photograhic's Experts Group)

จุดเด่น
1.สนับสนุนสีได้มากถึง 24 bit
2. สามารถกำหนดคุณภาพการบีบอัดไฟล์ได้ 
3. ใช้ใน
www.มีนามสกุล.JPG ได้
4. มีโปรแกรมสนับสนุนจำนวนมาก  
5. เรียกดูภาพได้ใน
Graphic Browser ทุกตัว
จุดด้อย
1. ทำให้ภาพโปร่งใสไม่ได้  
2. หากกำหนดค่าการบีบอัดไว้สูง จะทำให้การแสดงผลช้าเพราะเสียเวลาขยายไฟล์
2.TIFF(Tag Image File Format)
จุดเด่น
-เป็นรูปแบบที่ทำให้ภาพแบบราสเตอร์หรือบิตแมปสามารถใช้งานร่วมกับ Applicationต่างๆรวมทั้งโปรแกรมจัดการภาพจากScaner
จุดด้อย
-ไฟล์ภาพขนาดใหญ่เพราะต้องเก็บรายละเอียดความคมชัดไว้สูง
3.GIF(Graphics Interchange Format)
จุดเด่น
1. เป็นที่นิยม   
2. ขนาดเล็กมาก   
3. ทำพื้นให้โปร่งใสได้   
4. ทำเป็นภาพเคลท่อนไหวได้   
5. มีโปรแกรมสนับสนุนจำนวนมาก 
 6. สามารถเรียกดูภาพได้ใน
Graphic Browser ทุกตัว
จุดด้อย
แสงภาพได้256สีเท่านั้น ไม่เหมาะนำเสนอภาพถ่าย/งานที่ใช้ความคมชัดสูง
4.PNG(Portable Network Graphics)
จุดเด่น
1. มีสีมากกว่า256สี โปร่งใสได้แถมควบคุมองศาได้ด้วย  
2.
PNGบีบอัดข้อมูลโดยไม่เสียคุณภาพ 
3.เก็บบันทึกภาพด้วยสีจริง เช่น แบบตารางสีและสีเทา แบบ
GIF
จุดด้อย
ไม่สนับสนุนภาพเคลื่อนไหว เพราะเก็บภาพหลายๆภาพไม่ได้

สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก

RGBป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง , สีเขียวและสีน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
CMYKเป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า , สีม่วงแดง , สีเหลือง , และสีดำ เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลด หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งและสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ
HSB เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ Hue คือสีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา Saturation คือความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก Brightness คือระดับความสว่างขอสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100
LAB เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ L เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง

ประเภทของภาพกราฟิกที่ใช้กับคอมพิวเตอร์

ประเภทของภาพกราฟิกที่ใช้กับคอมพิวเตอร์

ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 ประเภท คือ   1. ภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ที่เรียกว่า พิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้น การกำหนดจำนวนพิกเซลจึงควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่จะสร้าง เช่น งานที่มีความละเอียดน้อย หรือภาพสำหรับเว็บไซต์ ควรกำหนดจำนวนพิกเซล ประมาณ 72 ppi (pixel / inch คือ จำนวนพิกเซลใน 1 ตารางนิ้ว) แต่ถ้าเป็นงานแบบพิมพ์ เช่น นิตยสาร ปกหนังสือ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดประมาณ 300 350 ppiเป็นต้น ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ Photoshop, Paint เป็นต้น ภาพกราฟิกแบบ Raster ที่ขยายใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยม       2.ภาพกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบรถยนต์ การออกแบบอาคาร การสร้างการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CorrelDraw, 3DsMax แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ จะเป็นการแสดงผลภาพแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector ที่ขยายใหญ่ขึ้น ความละเอียดของภาพจะไม่ลดลงภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red), สีเขียว(Green) และสีน้ำเงิน(Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสง ของสีทั้ง 3 สีมาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล(Pixel) ซึ่งมาจาก คำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็น รูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ Vector
หลักการของกราฟิกแบบ Raster
หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจาก การเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดเล็กๆ นี้ว่า พิกเซล(Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการ สร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพ เป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการกำหนดพิกเซล จึงควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่สร้าง คือถ้าต้องการใช้งานทั่วๆ ไปจะกำหนดพิกเซลประมาณ 100 – 150 ppi (Pixel/inch) “จำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้วถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi และถ้าเป็นแบบงานพิมพ์ เช่นนิตยสาร โปสเตอร์ ขนาดใหญ่จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300 – 350 เป็นต้น 
ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster
คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและ สวยงาม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ Adobe Photoshop, Adobe PhotoshopCS, Paint เป็นต้น
ภาพแบบ
Raster หรือที่ ส่วนใหญ่จะเรียกอีกอย่าง ภาพบิตแมพ (Bitmap) มักนิยมใช้กับ ภาพถ่าย หรือภาพวาด เพราะสามารถใส่โทนสีของภาพได้เหมือนจริง แต่ข้อเสียของภาพแบบ Raster ก็คือเมื่อมีการขยายภาพมากๆ ซึ่งขนาดของ Pixel ก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้เห็นภาพ ไม่ละเอียดเป็นขอบหยักๆ
หลักการของกราฟิกแบบ Vector
 หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทาง คณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพ ทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่ง ภายในและการออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CorelDraw, AutoCAD, 3Ds max เป็นต้น แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์จะเป็นการแสดงผลภาพเป็นแบบ Raster


ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก

กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก2 คำคือ
1. Graphikosหมายถึง การวาดเขียน
2.Grapheinหมายถึงการเขียน
ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า กราฟิกไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
กราฟิก หมายถึงศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิการ์ตูน ฯลฯเพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆกับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆและคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่นภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเองเมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้นทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmfซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเองนอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพจำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆมีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)

คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้างการตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้นการสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆเพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพเป็นต้น
ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-กราฟิกแบบ 2 มิติเป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟรวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
-กราฟิกแบบ 3 มิติเป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya เป็นต้น

กราฟิกกับสังคมปัจจุบัน
                  ปัจจุบันเทคโนโลยีได้วิวัฒนาการไปค่อนข้างรวดเร็วการใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้นมีการกระจายของข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจเป็นการกระจายข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งและการที่จะให้คนอีกซีกโลกหนึ่งเข้าใจความหมายของคนอีกซีกโลกหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายนักเนื่องมาจากความแตกต่างกันทั้งทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศ สภาพดินฟ้าอากาศความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นดังนั้นการใช้งานกราฟิกที่ดีที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนถูกต้องจะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกินจินตนาการร่วมกันอีกทั้งยังเกิดทัศนคติที่ดีต่อกันด้วย หรือถึงขั้นคล้อยตามให้ปฏิบัติตามได้
                                                                                                                                        


ประวัติความเป็นมาของกราฟิก

ประวัติความเป็นมาของกราฟิก
งานกราฟิก มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีต เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำ และมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก
             ต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสต์กาล ชาวSumerienในแคว้นเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์ งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปี ค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียง ที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ
            ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Style เป็น การพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส ได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมม์ มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลังตรงเสมอกัน
ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น ต้นมา การออกแบบกราฟิก ได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ
              การออกแบบ กราฟิกปัจจุบัน เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ   เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word สามารถจัดเรียง วางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษร โปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D Studio / LightWave 3D / AutoCadฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่นUlead Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น
             ปัจจุบัน งานคอมพิวเตอร์กราฟิก จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบ การออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ความสะดวก รวดเร็ว แก้ไขงาน ทำซ้ำงานทำได้ง่าย ตลอดจนการสั่งพิมพ์ หรือบันทึกเพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี

สารบัญ

สารบัญ
        (เรื่อง)                                                                         (หน้า)
ประวัติความเป็นมาของกราฟิก                                                 1
บทบาทและความสำคัญของกราฟิก                                           2-3
ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก                                                       4-5
ประเภทของภาพกราฟิกที่ใช้กับคอมพิวเตอร์                            6-7
สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก                                                    8
ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก                                                    9-11
การประยุกต์ใช้งานกราฟิก                                                       12-13

คำนำ

คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับกราฟิกซึ่งในรายงานเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆของกราฟิกไว้ เช่น แสงและสีที่ใช้ในงานกราฟิกหรือไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้กราฟิกในชีวิตประจำวัน ทางกลุ่มของข้าพเจ้าได้รวบรวมข้อมูลมาจากทางอินเตอร์เน็ตและถ้าหากรายงานเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใดข้าพเจ้าก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ